สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ลักษณะที่ตั้ง
ชุมชนเทศบาลตำบลบ้านเชียงรวมตัวกัน ตั้งอยู่บนเนินดินรูปไข่เรียวยาวจากทิศตะวันออก ทอดไปทิศตะวันตก พื้นที่รอบนอกเป็นป่าโปร่ง ที่ราบ และทุ่งนา เป็นส่วนใหญ่ มีลำห้วยหลายสายไหลผ่าน เช่น ลำห้วยหัวคน หัวบักค้อ ห้วยยางสะแบง ห้วยนาน้อย ห้วยนาคำ ห้วยบ้าน และห้วยดงยาง มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังนี้
ทิศเหนือ จรดเขต อำเภอทุ่งฝน
ทิศใต้ จรดเขต บ้านปูลู อบต. บ้านเชียง อำเภอหนองหาน
ทิศตะวันออก จรดเขต อบต.บ้านยา อำเภอหนองหาน
ทิศตะวันตก จรดเขต อบต. หนองเม็ก อำเภอหนองหาน
สภาพทางสังคม
หมู่บ้านในเขตเทศบาล ประกอบไปด้วย ๑๐ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑,หมู่ที่ ๒,หมู่ที่ ๔,หมู่ที่ ๖, หมู่ที่ ๘, หมู่ที่ ๙, หมู่ที่ ๑๑, หมู่ที่ ๑๒, หมู่ที่ ๑๓,หมู่ที่ ๑๕ มีผู้นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของประชากรทั้งหมด
วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นที่สำคัญมีดังนี้
ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเดือน มกราคม
ประเพณีงานวันมรดกโลก ช่วงเดือน กุมภาพันธ์
ประเพณีวันสงกรานต์ ช่วงเดือน เมษายน
ประเพณีเข้าพรรษา ช่วงเดือน กรกฎาคม
ประเพณีลอยกระทง ช่วงเดือน พฤศจิกายน
การศึกษา มีโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ และสังกัดหน่วยงานอื่นจำนวน ๓ แห่ง ดังนี้
โรงเรียนบ้านเชียงวิทยา สังกัดกรมสามัญศึกษา ๑ แห่ง
โรงเรียนบ้านดงเย็นสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา ๑ แห่ง
โรงเรียนบ้านเชียง(ประชาเชียงเชิด)สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา ๑ แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๓ ศูนย์ ดังนี้
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสระแก้ว (สังกัดกรมศาสนา)
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ศรีใน (สังกัดกรมศาสนา)
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านเชียง(ประชาเชียง)(สังกัด ส.ป.ช.)
การกีฬา ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาของเทศบาลเป็นประจำทุกปี ซึ่งสนามกีฬายังอาศัยสนามกีฬาของสถานศึกษาทั้ง ๓ แห่ง
การสาธารณสุข ในพื้นที่เทศบาล
สถานีอนามัยตำบล จำนวน ๑ แห่ง
คลินิก เอกชน จำนวน ๒ แห่ง
โรงฆ่าสัตว์ จำนวน ๑ แห่ง
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– สถิตเพลิงไหม้ในรอบปี จำนวน
– รถยนต์ดับเพลิงอาคารชนิดมีถังน้ำในตัว ๔,๐๐๐ ลิตร จำนวน ๑ คัน ขนาดบรรจุน้ำ
– รถยนต์บรรทุกน้ำดับเพลิง ๕,๐๐๐ ลิตร จำนวน ๑ คัน ขนาดบรรจุน้ำ
– พนักงานขับรถดับเพลิง จำนวน ๒ คน
– เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน ๑ คน
ข้อมูลด้านสถานที่สำคัญในเขตเทศบาลตำบลบ้านเชียง
1. โรงเรียนระดับประถมศึกษา และก่อนประถมศึกษา 3 แห่ง
โรงเรียนบ้านเชียง (ประชาเชียงเชิด)
โรงเรียนบ้านเชียง (ประชาเชียงเชิด)
โรงเรียนบ้านดงเย็น
โรงเรียนศูนยืเด็กก่อนวัยเรียนของเทศบาล
2. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา มี 1 แห่ง คือ
โรงเรียนบ้านเชียงวิทยา
3.การศึกษานอกระบบและตามอัธยศัย (กศน.)
4.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเชียง 1 แห่ง
5.ไปรษณียตำบลบ้านเชียง 1 แห่ง
6.พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียง 1 แห่ง
7.พิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้งวัดโพธิ์ศรีใน 1 แห่ง
8.บ้านไทพวนอนุสรณ์สถานการเสด็จทอดพระเนตร
9.การขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียง 1 แห่ง
ข้อมูลวัดในเขตเทศบาลตำบลบ้านเชียง
วัดโพธิ์ศรี (วัดใน)
วัดสระแก้ว (วัดนอก)
วัดป่าเลไลย์
วัดป่าสันติวนาราม (วัดป่าตอไร่อีสานเขียว)
วัดป่าเทพประทานพร
วัดอัมพรวัน บ้านดงเย็น (บ้านเชียงหมู่ 4,6)
วัดธรรมรังษี บ้านอ้อมแก้ว (บ้านเชียงหมู่ 8 )
วัดป่าแก้วนิรมิตร บ้านอ้อมแก้ว (บ้านเชียงหมู่ 8 )
ข้อมูลด้านสังคม
จำนวนประชากในเขตเทศบาลตำบลบ้านเชียงจำนวน 1,746 ครัวเรือน
ประชากรชาย 3,193 คน
ประชากรหญิง 3,178 คน
จำนวนร้านค้าในเขตเทศบาลบ้านเชียง
ร้านขายของเบ็ดเตล็ด 38 แห่ง
ร้านขายสินค้า 21 แห่ง
ร้านขายวัสดุก่อสร้าง 2 แห่ง
โรงงานอุตสาหกรรมน้ำดื่ม 1 แห่ง
ร้านอาหาร – ภัตตาคาร 7 แห่ง
บ้านพักรีสอร์ท 1 แห่ง
บ้านพักโฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์ 12 หลัง
สภาพทางเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ประชากรที่ประกอบอาชีพทั้งส่วนตัวและรวมกันเป็นกลุ่ม มีรายได้เฉลี่ยต่อคนประมาณปีละ ๓๕,๐๐๐ บาท (ข้อมูลจาก จปฐ.๕๒)ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม อุตสาหกรรมผ้าทอขนาดเล็กและค้าขายธรรมดา
การเกษตรกรรมประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา คิดเป็นร้อยละหกสิบ ผลผลิตที่ได้จะไว้บริโภคเอง ส่วนหนึ่งจะไว้จำหน่าย
การพาณิชยกรรมและบริการ แยกเป็นรายการดังนี้
สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
สถานบริการน้ำมันขนาดกลาง ๑๓ แห่ง
ตลาดสด ๑ แห่ง
ร้านค้าทั่วไป ๘๐ แห่ง
สถานประกอบการเทศพาณิชย์
โรงฆ่าสัตว์ จำนวน ๑ แห่ง
ประกอบการด้านบริการ
สถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน ๒๗ แห่ง
การอุตสาหกรรม
มีโรงงานทำขนมจีนขนาดเล็ก – แห่ง
มีโรงน้ำแข็งขนาดเล็ก ๑ แห่ง
โรงย้อมสีผ้าไหมขนาดเล็ก ๗ แห่ง
ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ๓๙ แห่ง
ร้านเสริมสวย ๑๑ แห่ง
การท่องเที่ยว
ปัจจุบันได้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่บ้านเชียงคิดเฉลี่ยต่อวันประมาณวันละ ๕๐๐ คน หรือประมาณ ๑๕,๕๐๐ คนต่อเดือนหรือ ๑๙๖,๒๕๕ คนต่อปี(ข้อมูล ปี ๒๕๕๓)
การปศุสัตว์ ประชากรในเขตเทศบาลจะมีส่วนน้อยที่ประกอบการด้านปศุสัตว์ เพราะพื้นที่ประกอบการไม่เอื้ออำนวย ซึ่งจะใช้พื้นที่นอกเขตเทศบาลเป็นที่ประกอบการ เช่น การเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา และ เลี้ยงโค
ลักษณะทรัพยากร
เทศบาลตำบลบ้านเชียง ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น ภูมิอากาศทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิหรือปริมาณน้ำฝน สามารถใช้ข้อมูลของจังหวัดอุดรธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ ส่วนข้อมูลมีดังนี้
แหล่งน้ำ
– หนองบึง จำนวน ๑ แห่ง คือ บึงนาคำ หมู่ที่ ๒
– สระน้ำสาธารณะ จำนวน ๔ แห่ง คือ สระสามสาย,สระหนองสิม, สระกูดบักกอม, และสระโรงเรียน
– คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน ๗ แห่ง คือ ห้วยนาน้อย ห้วยหัวคน ห้วยบักค้อ ห้วยยางสะแบง ห้วยนาคำ ห้วยบ้าน และห้วยดงยาง-ดงเย็น
การระบายน้ำ เทศบาลตำบลบ้านเชียง ไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์เกี่ยวกับการระบายน้ำ ในบริเวณชุมชนมีน้ำท่วมขังตามร่องน้ำธรรมดา ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำฝนในฤดูฝนการระบายน้ำออกจากชุมชนใช้ระบบท่อส่ง รางระบายน้ำ คสล. และร่องดิน ยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนพื้นที่ที่น้ำท่วมขังเป็นเวลานานในช่วงฤดูฝนจะเป็นพื้นที่ทำนาข้าว
ขยะ
๑.ปริมาณขยะในพื้นที่เทศบาล ประมาณ ๒๐ ลูกบาศก์หลาต่อวัน – รถยนต์ที่ใช้จัดเก็บขยะรวม ๒ คัน แยกเป็นดังนี้
ก. รถขยะคันที่ ๑ รถเก็บขนขยะขนาดความจุ ๖ ลบ.หลา ซื้อเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗
ข. รถขยะคันที่ ๒ รถเก็บขนขยะขนาดความจุ ๔ ลบ.หลา ซื้อเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐
๒.ขยะที่เก็บขนได้ประมาณ ๒๐ ลบ.หลาต่อวัน
๓.ขยะที่กำจัดได้ ประมาณ 20 ลบ.หลาต่อวันโดยวิธีกองบนฟืนแล้วเผา และฝังกลบ
๔.ที่ดินที่กำจัดขยะที่กำลังใช้อยู่ จำนวน ๖.๒๕ ไร่ และได้ขยายเขตเพิ่มเติมอีกประมาณ ๒๐ ไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๓ อยู่นอกเขตเทศบาลระยะห่างจากชุมชนประมาณ ๒ กิโลเมตร คาดว่าจะสามารถกำจัดขยะได้อีก ๒๐ ปี
๕.สภาพการเป็นเจ้าของที่ดิน สำหรับกำจัดขยะเป็นที่ดินของสุขาภิบาลเดิม
๖.ที่ดินสำรองที่เตรียมไว้สำหรับกำจัดขยะ จำนวนประมาณ ๔๐ ไร่ พื้นที่กำจัดประมาณ ๒๐ ไร่ เป็นที่ดินที่ขอถอนสภาพ ใช้ที่สาธารณะที่ป่าโคกจิกหนานอกเขตเทศบาล ระยะห่างจากชุมชนประมาณ ๔ กิโลเมตร
ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม การจราจร เทศบาลตำบลบ้านเชียง มีเส้นทางหลักที่เชื่อมมาจากภายนอกเข้าสู่หมู่บ้านอยู่ ๓ เส้นทางหลัก คือ
– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ เส้นทางปูลู-บ้านเชียง ระยะทาง ประมาณ ๖ กิโลเมตร ผิวจราจรเป็นราดยาง
– เส้นทางของกรมโยธาธิการ สายหนองเม็ก-บ้านเชียง ระยะทาง ประมาณ ๘ กิโลเมตร ผิวจราจรเป็นราดยาง
– เส้นทางของ รพช. สายทุ่งฝน-บ้านเชียง ระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตร ผิวจราจรเป็นราดยางและลูกรัง
ส่วนเส้นทางการจราจรในบริเวณชุมชนเทศบาลและรอบนอกหมู่บ้านมีทั้งผิวจราจรราดยาง คสล. และลูกรัง ในสัดส่วนอย่างเท่า ๆ กัน ซึ่งปัจจุบันกำลังมีการปรับปรุงอยู่ตลอด
การประปา กิจการประปาในเขตของเทศบาลอยู่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีประชาชนผู้ใช้บริการประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์
ไฟฟ้า เป็นเขตรับผิดชอบของอำเภอหนองหาน ตามรวมมีประชาชนใช้บริการไฟฟ้าเต็มร้อย-เปอร์เซ็นต์ ส่วนไฟส่องสว่างตามที่สาธารณะ และท้องถนนครอบคลุมแต่ละสาย คิดเป็น ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของถนนที่มีไฟสว่าง
การสื่อสาร
ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง
ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๐ แห่ง
ระบบเสียงตามสาย/หอกระจายข่าวในพื้นที่เทศบาล จำนวน ๔ แห่ง
ลักษณะการใช้ที่ดิน คิดเฉลี่ยโดยประมาณ ๗.๓๗ ตารางกิโลเมตร หรือ ๔,๖๐๖.๒๕ ไร่แบ่งเป็น
พื้นที่พักอาศัย ๗๐๐ ไร่
พื้นที่เกษตรกรรม ๒.๗๕๐ ไร่
พื้นที่พาณิชยกรรม ๑๐ ไร่
พื้นที่อุตสาหกรรม (ขนาดเล็ก) ๕ ไร่
พื้นที่หน่วยงานของรัฐ ๕๐ ไร่
พื้นที่ตั้งสถานศึกษา ๖๐ ไร่
สวนสาธารณะ ๒๐ ไร่
พื้นที่ว่าง ๑๒ ไร่